หลายบทความอยู่ในระหว่างการเรียบเรียงให้มีความสมบูรณ์ที่สุด หากท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับชนเผ่าในพื้นที่ต่างๆ หากจะมอบให้เป็น " วิทยาทาน " เพื่อนำมารวบรวมให้ครบถ้วนยิ่งขึ้น ก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง กรุณาส่งทาง e-mail ที่
leknkp@gmail.com หรือ
ส่งจดหมายไปรษณีย์มาที่
กลุ่มพนมนครานุรักษ์ เลขที่ 137 ถนนสุนทรวิจิตร อ.เมือง จังหวัดนครพนม 48000 โทร. 087 - 4381912
ขอให้ชาวนครพนม คัดค้านการนำเอาพระธาตุพนม ไปประดับบนยอดหลังคาอาคารด่านศุลกากรนครพนม ที่สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 จังหวัดนครพนม

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

" ลงผีหมอไทญ้อ " บ้านดอนข้าวหลาม ตำบลก้านเหลือง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม




งาน " ลงผีหมอบ้านดอนข้าวหลาม 2554  " จัดขึ้นที่ลานสาธารณะ ตรงใกล้สี่แยก
บ้านดอนข้าวหลาม หมู่ 10  ตำบลก้านเหลือง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม



ทางเข้าบ้านดอนข้าวหลาม หมู่ 10 ตำบลก้านเหลือง





ศาลาริมทาง อยู่ใจกลางบ้านดอนข้าวหลาม  จะเป็นจุดสังเกตุ


สี่แยกบ้านดอนข้าวหลาม หมู่ 10 ตำบลก้านเหลือง




ร้านสะดวกซื้อ ที่บ้านดอนข้าวหลาม หมู่ 10 ตำบลก้านเหลือง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม


เต๊นต์ซ้ายมือเป็นที่ทำพิธีของ " หมอเหยา " ส่วนขวามือเป็น ที่รับรองแขก



เต๊นต์การจัดงาน " ลงผีหมอบ้านดอนข้าวหลาม " 


ศาลาริมทาง  และ ปั๊มน้ำบาดาล กลางหมู่บ้านดอนข้าวหลาม


โต๊ะอาหารสำหรับแขกคนสำคัญในงานวันนี้


แขกวันนี้เป็น คณะของ นายกอบต.ก้านเหลือง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม


คุณสมบูรณ์ ปุ่มเป้า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลก้านเหลือง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม


ไกด์ผู้ใจดี  ทำให้ " งานลงผีหมอ " บ้านดอนข้าวหลาม ได้เผยแพร่ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก


จากเต๊นต์แขก จะมองเห็น เต๊นต์หมอเหยา และ " ผาม " หรือ " ซุ้มผี "


ภายในเต๊นต์ของ หมอเหยา ที่จะใช้ทำพิธีไหว้ ผีปู่ตา
บนหิ้งบูชา  จะมีลูกมะพร้าวปักด้วยดอกไม้สีขาว เป็นสัญญลักษณ์แทน " ผีปู่ตา "
ส่วนข้างล่างจะมี เครื่องไหว้ เครื่องคาย มีด มะพร้าว หมอน ของหมอเหยา


บรรยากาศภายในเต๊นต์พิธีของ " หมอเหยา "  ซึ่งปีนี้มีจำนวนถึง 25 คน
อันหมายความว่า  ในเต๊นต์นี้  จะเชิญ " ผีปู่ตา " มารับเครื่องสังเวยในงาน 25 ตนด้วย




พิธี " ลงผีหมอ " ( งานเลี้ยงผี )  เป็นงานเซ่นบวงสรวงดวงวิญญาน " ผีปู่ตา "  ประจำปี เพื่อแสดง  ความกตัญญู ในสิ่งที่ปู่ย่าตายายทำไว้ให้  แต่สมัยก่อนผู้คนไม่ยกย่องผู้หญิง   จึงตัดคำว่า ย่า ยาย  ออก เหลือแต่ " ปู่ตา "  ( สาระของงานก็เทียบได้กับงาน " เช็งเม้ง " ของคนไทยเชื้อสายจีน ) 
แต่ในทางกลับกัน  การทำพิธี " เลี้ยงผี " กลับใช้ หมอเหยา หรือ คนทำพิธี เป็นผู้หญิงสูงวัย  


   หมอเหยา  หรือ ผู้ทำพิธีเลี้ยงผี จะเป็นหญิงสูงวัย คาดศีรษะด้วยผ้าแดง และ ห่มสะไบ 
ถ้าจะอธิบายความหมายให้ใกล้เคียง  ก็น่าจะประมาณ คนทรง หรือ ร่างทรง
พิธีกรรม ลงผีหมอ จะเริ่มต้นด้วย หมอเหยา จะกราบไหว้ " ผีปู่ตา " ที่ตัวเองนับถือเสียก่อน
เพื่ออัญเชิญ ดวงวิญญานผีปู่ตา  ไม่ว่าจะอยู่แห่งหนใด  ให้ออกมาชุมนุมกัน ณ ที่ " ผาม " แห่งนี้ 
เมื่อ " ผีปู่ตา " เข้ามาถึงผาม แล้ว  ก็จะเข้าประทับร่างหมอเหยา  ซึ่งจะสังเกตุอาการผีเข้าได้
เมื่อผีปู่ตาเข้าสิงในร่างแล้ว  หมอเหยาก็จะออกมาฟ้อนรำ " เหยา " รอบๆ " ผาม " ( ซุ้มผี )
แล้วก็จะมีพิธีการต่างๆ  ที่ทำขึ้นเพื่อให้ " วิญญานปู่ตา " พึงพอใจ
สุดท้ายของพิธีการ ก็คือ การพา ผีปู่ตา อาบน้ำ ก่อนที่จะอัญเชิญ ผีปู่ตา กลับบ้าน
เป็นอันเสร็จสิ้น พิธีกรรม ลงผีหมอ ในวันนี้






สจ.นาแกคนสวย ก็มาร่วมงานวันนี้ด้วย ต้องขออภัยที่ลืมขอชื่่อท่าน

2















คุณสมบูรณ์ ปุ่มเป้า นายก อบต.ก้านเหลือง พาชาวคณะฯ มาร่วมงานด้วย

















7



ผู้มาร่วมงานจัดหาภาชนะใส่น้ำ เพื่อเตรียมการอาบน้ำให้แม่หมอเหยา




บรรดาชาวบ้านลูกหลานของ แม่หมอเหยา กำลังรอรดน้ำสาดน้ำให้แม่หมอ


วางเรือ ( สมมติ ) และ ใบพาย เป็นสัญลักษณ์ว่า  กำลังอยู่บนหนองน้ำมหานทีแล้ว


ถาดน้ำนี้  สมมติว่าเป็น หนองน้ำมหานที  ที่บรรดาแม่หมอจะพา " ผี " ไปอาบน้ำ





บรรยากาศเริ่มสนุก  เมื่อการสาดน้ำกำลังจะเริ่มขึ้นในไม่ช้า






















หมอเหยา อาบน้ำแล้ว ก็ต้องรีบกลับมาแต่งตัวใหม่ เพื่อการฟ้อนครั้งสุดท้ายของงาน


เปลี่ยนเสิ้อผ้าใหม่



ถึงจะหนาว จะเหนื่อย  แต่ หมอเหยา ทุกคนก็ไม่ได้ล้าเลย เพราะนี่ใกล้จะจบงานแล้ว





การฟ้อนเหยาครั้งสุดท้ายของงาน








หมอเหยา  ( เพื่อรักษาอาการเจ็บใข้ได้ป่วย )
รักษาโรคภัยใข้เจ็บทุกชนิดในหมู่บ้านชนบท ด้วยพิธีการ " เหยา " ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน


การทำพิธี " เหยา " หมอเหยา  จะใช้ " มีด " แทน " เข็มฉีดยา " ในการบำบัดอาการป่วยใข้


หมอแคน  จะต้องเป่าแคนตลอดเวลาที่ แม่หมอเหยากำลังทำพิธี " เหยา " 


ในงานวันนี้บรรดาพ่อแม่ต่างก็พาลูกเด็กเล็กแดงที่ขี้โรคงอแงมาหา หมอเหยา ให้ช่วยบำบัดให้



กระทงสามเหลี่ยม ใช้ลอยเคราะห์ เพื่อกำจัดปัดเป่าสิ่งไม่ดีให้พ้นไป


ดอกไม้และเทียน  ใน " เครื่องคาย " ( เครื่องแก้ ) ตามประเพณีของชนเผ่าชาติพันธุ์ จะไม่มีธูป 



หมอเหยา ทำพิธีเหยา โดยการใช้มีดตัดฝ้าย " ตัดกรรม " แล้วเอาฝ้ายมาคล้องคอเด็ก 
เพื่อ " ปัว " รักษาเด็กเล็กที่พ่อแม่เชื่อว่าเลี้ยงยากไม่แข็งแรง  ตามวิถีความเชื่อ






พิธีเหยา เพื่อ " ปัว "ความเจ็บป่วยของคนในชนบทนั้น  เขาทำกันมาก่อนแพทย์แผนใหม่จะมี 
โดยอาศัย  คาถาอาคม มีด ฝ้าย เครื่องไหว้ เครื่องคาย กระทง และ หมอแคน


แม่หมอเหยา  กำลังส่งวิญญาน " ผี " ที่นับถือกลับบ้าน




คุณสวิน  ศรีแพง  " เจ้าจ้ำ " แห่งบ้านดอนข้าวหลาม
บ้านดอนข้าวหลาม หมู่ 10  ตำบลก้านเหลือง อำเภอนาแก  จังหวัดนครพนม


คุณสวิน ศรีแพง พูดถึงงาน " ลงผีหมอบ้านดอนข้าวหลาม " ให้ฟัง


คุณสวิน ศรีแพง และ ไกด์ใจดี  พาไปชม " ศาลเจ้าปู่ตาบ้านดอนข้าวหลาม "



ศาลเจ้าปู่ตาบ้านดอนข้าวหลาม
บ้านดอนข้าวหลาม หมู่ 10 ตำบลก้านเหลือง อำเภอนาแก  จังหวัดนครพนม



เชือกที่ผูกห้อยที่คานนี้   เชื่อว่า  เป็นเชือกที่ผูก วัว ควาย สัตว์เลี้ยงของ " ปู่ตา "



หิ้งบูชา ที่สถิตดวงวิญญานของ " ปู่ตาบ้านดอนข้าวหลาม "


ศาลเจ้าปู่ตาบ้านดอนข้าวหลาม
บ้านดอนข้าวหลาม หมู่ 10  ตำบลก้านเหลือง อำเภอนาแก  จังหวัดนครพนม